วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปผลจากข้อมูลที่เก็บมา และสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้



สรุปผลจากข้อมูลที่เก็บมา และสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้

เราได้ทำการเก็บข้อมูลจากการสังเกตุพฤติกรรมและใบประเมินจากผู้ปกครองซึ่งผลที่ได้รับพบว่า

วิดีโอประกอบการสังเกตุ : https://drive.google.com/file/d/0B1bwsZGUYfwEWV9LSGFmUDZ3Z1k/view






ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง
- เด็กๆชอบมากค่ะ
- สนุกมากๆค่ะ
- อยากให้จัดกิจกรรมนานกว่านี้คะ
- นำเกมส์มาประยุกต์ได้ดีมากคะ
- พัฒนาสมอง + ทำให้เกิดการคำนวนก่อนตัดสินใจ สนุกดีค่ะ
- เป็นกิจกรรมให้เด็กคิดวิเคราะห์วางแผนดีค่ะ
- ออกแบบได้ดี ให้เด็กเล่นได้ง่ายขึ้นครับ
- Mine sweeper เป็นเกมที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 8 - 10 ปีขึ้นไป เด็กที่อายุน้อยกว่านั้นอาจได้รับเพียงความสนุกสนาน มากกว่าการคิดเป็นเหตุเป็นผล

ผลจากการสังเกตุ
พบว่าเด็กทุกๆคนที่มาเล่นกิจกรรมของเรานั้นมีความสนุกเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก โดยเราพบว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่เหมาะสม ในกิจกรรมของเรานั้นแตกต่างกัน เด็กเล็กๆหลายคนไม่เข้าใจกติกาการเล่นของเราในช่วงแรก แต่ตัวของผู้ปกครองที่มากับเด็กนั้นคอยช่วยเหลือและอธิบายเด็กๆของพวกเค้าอยู่ตลอด รวมทั้งลงมาเล่นกิจกรรมด้วย ซึ่งตรงกับเป้าหมายของเราในการออกแบบกิจกรรมว่าเราอยากให้กิจกรรมของเรานั้นเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองและเด็กสามารถมีส่วนร่วมด้วยกันได้ และช่วยส่งเสริมปฎิสัมพันธ์ระหว่างเด็กด้วยกันเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

         จากการทำงานครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายว่ากลุ่มเป้าหมายเค้ามีความต้องการอยากได้อะไร โดยได้อาศัยวิธีของ Collages และ HMWที่ได้เรียนรู้จากในคาบ ในการออกแบบกิจกรรม การทำPrototype เพื่อนำไปทดสอบกับน้องๆ ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ การวางแผนการทำงานตามระยะเวลาที่มี ว่าแต่ละอาทิตย์ต้องบรรลุเป้าหมายมากน้อยถึงไหน การแบ่งงานและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทำให้สุดท้ายแล้วงานที่ได้ออกมาได้ตามที่เราต้องการและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การวัดผล(USABILITY)

Inventor
วัตถุประสงค์(วิธีการวัดผล)
1.เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการคิดอย่างเป็นระบบให้แก่เด็ก(จากการสังเกตุและแบบประเมิน)
2.ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น(การสังเกตุสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น)
3.ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมกับเด็กในการทำกิจกรรมได้(การสังเกตุพฤติกรรมของเด็กและผู้ปกครอง)
4.ส่งเสริมให้เด็กกล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ(การสังเกตุของเด็กและแบบประเมินของผู้ปกครอง)


การวัดผล :
- ในการวัดผลจะมีการสังเกตุจากสายตา (โดยในแต่ละรอบของการเล่นเกมจะให้น้องแต่ละกลุ่มที่เข้ามามีโอกาสเล่นได้5ครั้ง แล้วเราจะสังเกตพัฒนาการของน้องๆ) - แบบสอบถาม และมีการถ่ายวิดีโอบรรยากาศระหว่างการเล่นทำกิจกรรมและการถามคำถามสั้นๆตอนท้ายกับเด็กๆ มีแบบประเมินให้ผู้ปกครองทำสั้นๆ https://docs.google.com/forms/d/1aRLugp9ysizmkz7vg2iaW7TEkreMgNJrAb_cUdncwcw/prefill
แบ่งหน้าที่
1.นายสรวิชญ์ อินทร์พรหม 58340500046 (ถ่ายวิดีโอ)
2.นายสุมนตรี ปานแสง 58340500050 (แบบประเมินและสอบถาม)
3.นางสาวเพ็ญพิชชา หวังลาวัลย์ 58340500033 (แบบประเมินและสอบถาม)
4.นายก้องเกียรติ รสหอมภิวัฒน 58340500003 (ดูแลความเรียบร้อยระหว่างทำกิจกรรม)

วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

อัพเดตความคืบหน้า(22 Aprill - 2May 2017)

- ตกเเต่งพื้นเหยียบด้วยสีเรืองเเสงเป็นรูปรอยเท้าเพื่อให้เด็กรู้ว่าต้องเหยียบให้ตรงLDR



- ทำการติดตั้งมอเตอร์สั่นลงบนพื้นเหยียบเป็นจำนวน 6 ตัว เพื่ออรรถรสของเด็กๆ จะสั่นก็ต่อเมื่อเด็กเหยียบโดนระเบิด
- เพิ่มLED Strip เพื่อความสวยงาม สีเขียวเมื่อเหยียบถูก สีแดงเมื่อเหยียบโดนระเบิด เเละ เมื่อเล่นชนะจะเเสดงไฟกระพริบวิบวับๆ 

เมื่อเหยียบโดนตัวเลข(ขึ้นสีเขียว)
เมื่อเหยียบโดนระเบิด

- เพิ่มปุ่ม Restart เเละ Stop เพื่อให้สะดวกในการควบคุมเกมส์ 


- เพิ่มด่านเป็นจำนวน 20 ด่านเพื่อให้เกิดความสนุกในการเล่นเกมส์


วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

อัพเดตความคืบหน้า(18-21 April 2017)

Electronic
-เดินสายไฟในส่วนของ Input(จาก LDR) เเละ Output (7 Segment) จากตู้ควบคุม ถึง แป้นเหยียบเเต่ละอัน




ปัญหาที่พบ
-เนื่องจากปัญหาเรื่องงบประมาณ ทำให้กลุ่มเราเปลี่ยนขนาดของเกมส์ให้เล็กลง จาก6*6แป้น เป็น 5*5เเป้นเหยียบ
-หลังจากที่ลองสั่ง 7 Segment 1 เเถว(5ตัว)พร้อมกับแป้นเหยีบยบ พบว่าตัวเลขที่ได้ผิดเพี้ยนไปจากคำ สั่งที่สั่งจากโปรเเกรม จึงถอด 7 Segment มาทดลอง 5 ตัว พบว่าปัญหาเกิดที่ R ของบอร์ด PCB ของตัว 7 Segmentเอง ที่บัดกรีไม่ดี




วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

อัพเดตความคืบหน้า(8-10 April 2017)

Electronic
-บัดกรีบอร์ดPCBที่สั่งเอาไว้ทั้งหมดเสร็จ
-ทำตู้ควบคุมเอาไว้เก็บบอร์ดControlทั้งหมด

-วัดความยาวสายไฟเเละทำการเข้าหัวสายไฟเพื่อให้ง่ายต่อการต่อสายไฟไปที่บอร์ดต่าง


Software
-ทดลองการรับInput จากเหยียบจริง(LDR) เมื่อเหยียบจะขึ้นสถานะเป็น1 ไม่เหยียบเป็น0
VDO


ปัญหาที่เกิดขึ้น
-งบไม่พอในการซื้ออุปกรณ์



วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

อัพเดทความคืบหน้า

ความคืบหน้าของงาน(3-7April)

ส่วนของElectronics

  • จั้มสายแพรจำนวน 32 สาย ทดลองอุปกรณ์ที่ซื้อมา
  • ออกแบบวงจรPCB และสั่งร้านกัดบอร์ด นัดรับงานวันที่8



Main Board
7Segment


ส่วนของHardware

  • นำแผ่นไม้ที่เหลือใช้จากงานStructure และซื้อไม้อัดเพิ่ม 
  • เลื่อยตัดขนาด เจาะรูและนำมาประกอบได้ตัวชิ้นงานทั้งหมด 36ชิ้นดังภาพ